เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย


หน่วย  : คณิตเพื่อชีวิต 1
ภูมิหลัง 
คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในนี้ คุณครูจะสอดแทรกความรู้ 3 สาระการเรียนรู้ในQuarter2นี้ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งความรู้และทักษะที่นักเรียนควรได้รับ ทั้งความเข้าใจและความสามารถที่จะนำไปใช้ ได้แก่ อัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ จำนวนจริงตรรกยะ อตรรกยะ การวัดพื้นที่และหาปริมาตร ความเท่ากันทุกประการ การแปลงทางเรขาคณิต ฯลฯ เนื้อหาทั้งหมดเหล่านี้เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้จริง และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ซึ่งในแต่ละเรื่องสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การหาร้อยละของนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน รวมทั้งการหาพื้นที่ของสนามฟุตบอล บาสเกตบอล ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นักเรียนจะได้ฝึกทักษะของตนเอง เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และสามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน หรือปัญหาในชีวิตประจำวันได้

เป้าหมายความเข้าใจ :
   นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับชั้น ม.3 

ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1 ปีการศึกษา 2559
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
16 – 20 พ.ค. 2559













โจทย์
ความสัมพันธ์ของตัวเลขกับชีวิตประจำวัน
Key  Questions
- นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องเดิมอะไรบ้าง? ต้องการเรียนรู้เรื่องไหนเพิ่มเติม?
- นักเรียนคิดว่าระบบจำนวนจริงประกอบด้วยอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Blackboard share
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ที่กำหนด
Show and Share
นักเรียนนำเสนอการจัดหมวดหมู่ของตัวเลขและยกตัวอย่าเพิ่มเติม
Mind mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางชุดตัวเลข
- โครงสร้าง
ระบบจำนวนจริง
- นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องเดิมอะไรบ้าง? ต้องการเรียนรู้เรื่องไหนเพิ่มเติม?  (สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้)
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในรูปแบบ  mind mapping
- ให้นักเรียนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขมาให้ได้มากที่สุด นำตัวเลขที่ได้จากเรื่องราวที่เขียน มาจำแนกหมวดหมู่ สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดได้บ้างบ้างพร้อมกับนำเสนอวิธีการคิดการจัดหมวดหมู่ พร้อมให้เหตุผลประกอบ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  จากตัวเลขให้นักเรียน จัดหมวดหมู่ของตัวเลขดังต่อไปนี้ พร้อมหาเหตุผลประกอบ
3, 0, 15, 99, -72, -25/5 , 865, 1.3456… ,
-11, 9.7777… ,5.46464748…, √4 , 6.434343…, √225, 10/5 , 7/3, 9, √315, 8.5, -69/2, 40/8
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “นักเรียนคิดว่าระบบจำนวนจริงประกอบด้วยอะไรบ้าง?”
- นักเรียนยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง
ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
ภาระงาน
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน ในรูปแบบ mind mapping - เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขให้ได้มากที่สุด
- จำแนกประเภทของตัวเลขลงในกระดาษ  A4
- สรุปความรู้ ระบบจำนวนจริงในรูปแบบ การ์ตูนช่อง
 ชิ้นงาน
- mind mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สมุดบันทึก เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข
- การ์ตูนช่อง
ระบบจำนวนจริง



ความรู้
เข้าใจและเกิดทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับพื้นฐานของระบบจำนวนจริง และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถจัดหมวดหมู่ของตัวเลข
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลประกอบสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ เขียนเรื่องราวและให้เหตุผลเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเลข
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 : ตัวชี้วัด 
ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
2
23 – 27 พ.ค. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ
(เศษส่วน และทศนิยม)
Key Question
นักเรียนคิดว่าเศษส่วนกับทศนิยมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร/ สามารถเขียนกลับกันได้หรือไม่?
เครื่องมือคิด
Mind mapping
สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเศษส่วนและทศนิยม
Show and Share 
ร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น
Blackboard Share
นักเรียนเสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ป้ายตัวเลข
- แตงโม
- ตัวแทนแบ่งแตงโมออกเป็นครึ่งลูก ให้เพื่อสังเกตที่ละส่วน และแบ่งครึ่งออกไปเรื่อยๆ แล้วนำมาวางเรียงกัน จะเห็นขนาดของแตงโมที่ถูกแบ่งออกไป
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับขนาดของแตงโม เปรียบเทียบส่วนของแตงโมกับเศษส่วน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ครูกระตุ้นคิดด้วยวิธีการทบทวนความรู้เดิม
 



- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ นักเรียนคิดว่าเศษส่วนกับทศนิยมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? “
เชื่อม : นักเรียนยกตัวอย่างเศษส่วน และทศนิยม ที่มีค่าเท่ากันแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในวง
- ครูกำหนด ตัวเลข เศษส่วนที่แตกต่างกันมาให้นักเรียนสังเกต
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเศษส่วนที่ครูนำมาให้สังเกต ยกตัวอย่างเศษส่วนแท้ เศษส่วนเกิน เศษส่วนคละ และเศษส่วนซ้อน  อย่างละ 5 ตัว
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนคิดว่าเศษส่วน สามารถเขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้หรือไม่? ”  
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น การแปลงเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
- ครูให้นักเรียนเล่นเกม  “สัมพันธ์ฉันท์เพื่อน” ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับจับคู่ระหว่าง เลขทศนิยมกับเศษส่วนที่มีค่าเท่ากัน  เช่น
ภาระงาน
- แบ่งแตงโมออกทีละครึ่ง
- ตอบคำถาม เกมจับคู่ “สัมพันธ์ฉันท์เพื่อน”
- สรุปความคิดในรูปของ mind mapping เศษส่วนและทศนิยม
ชิ้นงาน
- เกมจับคู่สัมพันธ์ฉันท์เพื่อน
- mind mapping สรุปความคิด
- สมุดบันทึก

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการดำเนินการเศษส่วน ทศนิยม การแปลงค่า  และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ เศษส่วนและทศนิยมได้
ทักษะการสื่อสาร
แลกเปลี่ยนวิธีคิดร่วมกันในชั้นเรียน
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถถ่ายทอดความเข้าใจร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้
คุณลักษณะ
-  สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 : ตัวชี้วัด 
ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
3
30 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ1
(จำนวนเต็ม)

Key  Questions
- นักเรียนมีเงิน 20 บาท แม่ให้ไปซื้อผักกาด 2 หัว ราคาหัวละ 15 บาท นักเรียนจะมีเงินเหลือกี่บาท / เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด
Show and Share
นักเรียนร่วมกันนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Brainstorms
นักเรียนระดมความคิดสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
โจทย์ปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยคำถาม
“จำนวนที่อยู่ระหว่าง 1 กับ 3 มีกี่จำนวนและจำนวนที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง -1มีจำนวนอะไรบ้าง?””
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่หลากหลาย และยกตัวอย่างคำตอบเพิ่มเติม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “นักเรียนคิดว่าจำนวนเต็ม ประกอบด้วยอะไรบ้าง?”
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับจำนวนเต็มประกอบด้วยอะไรบ้าง
- นักเรียนตรวจสอบ โดยการค้นหาข้อมูล
-ครูกำหนดโจทย์ประยุกต์เพิ่มเติม เช่น การดำเนินการบวก ลบ จำนวนเต็มให้กับนักเรียน และให้นักเรียนสร้างโจทย์ใหม่โดยการกำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง พร้อมแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าสมการคืออะไร และมีลักษณะเป็นอย่างไร?”
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่าง
- ครูชงด้วยโจทย์  จงหาค่าของ X จากสมการ  2X = 10
- นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนวิธีการคิด
- ครูให้โจทย์ปัญหาสมการเพิ่มเติม เช่น 2X+5 = 15 จากนั้นให้นักเรียนสร้างโจทย์ขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและคุณครู
ภาระงาน
- นักเรียนค้นคว้าข้อมูลนอกห้องเรียน
- นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง นำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในกลุ่ม 3 คน
- กำหนดโจทย์ปัญหา แลกเปลี่ยนกันทำ
ชิ้นงาน
- ข้อมูลที่ได้จากการค้นหา
- ใบงานโจทย์ประยุกต์จำนวนเต็ม
- โจทย์ปัญหาที่นักเรียนกำหนดเอง
- สมุดบันทึก
ความรู้
มีความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เกิดทักษะกระบวนการคิดการดำเนินการ แก้ปัญหาและสร้างโจทย์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ทักษะ
ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)สามารถสร้างและแก้ไขโจทย์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลประกอบการอธิบายเพื่อให้คนอื่นเข้าใจ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถสร้างโจทย์ปัญหาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน
คุณลักษณะ
-  สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-  มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำงาน
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
4
6 -10 มิ.ย. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ2
(จำนวนจริง)
การแยกจำนวนตรรกยะและ
อตรรกยะ
Key  Question
นักเรียนคิดว่าจำนวนตรรกยะและ
อตรรกยะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? และนักเรียนจะนำจำนวนเหล่านี้ไปใช้ในด้านใดได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Blackboard Share
นักเรียนแสดงวิธีคิดหน้าชั้นเรียน ตรวจสอบวิธีคิดร่วมกัน
Brainstorms
ระดมสมองเกี่ยวกับ การออกแบบและจัดหมวดหมู่ของจำนวนจริง

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ตารางการจัดหมวดหมู่
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าจำนวนจริง
ตรรกยะ และ อตรรกยะเป็นอย่างไร?”
- นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนจริงตรรกยะและอตรรกยะ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้สืบค้นและนำเสนอร่วมกัน
- ครูใช้โจทย์กระตุ้นการคิดให้นักเรียนวงกลมจำนวน
ตรรกยะและขีดเส้นใต้จำนวนอตรรกยะ
 



- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่หลากหลาย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนเข้าใจจำนวนจริงตรรกยะและอตรรกยะอย่างไร? “
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าจะนำจำนวนเหล่านี้ไปใช้ด้านใดได้บ้าง?”
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์
- นักเรียนจัดหมวดหมู่ตัวเลขลงในตารางที่ครูกำหนดให้
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน

ภาระงาน
- แบ่งกลุ่มค้นคว้าหาข้อมูล
- นำเสนอจำนวนจริงตรรกยะและอตรรกยะ หน้าชั้นเรียน
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- นักเรียนจัดหมวดหมู่ของจำนวนจริงได้
ชิ้นงาน
- ใบงานจำนวนตรรกยะและอตรรกยะ
- ใบงานการจัดหมวดหมู่
- สมุดบันทึก
ความรู้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนจริงตรรกยะ อตรรกยะ และสามารถวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ของจำนวนจริงได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
แก้ปัญหาเพื่อทำให้สมการเป็นจริง
ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
จัดหมวดหมู่ของจำนวนจริงตรรกยะ และอตรรกยะได้
ทักษะการสื่อสาร
ยกตัวอย่างพร้อมกับแลกเปลี่ยนความคอดเห็นในชั้นเรียน
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.4  เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด 
ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6
  

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
13 – 17 มิ.ย. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ3 (อัตราส่วน)การแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนเชิงประยุกต์
Key  Question
หลังจากเปรียบเทียบสิ่งของ นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของอัตราส่วนในรูปแบบใดบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอัตราส่วน
Blackboard Share
นำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับอัตราส่วน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ดินสอ
ปากกา
สี
อุปกรณ์ใกล้ตัวนักเรียน
- ครูกำหนดปากกาและดินสอรอบตัวนักเรียนเพื่อกระตุ้นการคิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของเหล่านี้ได้ในรูปแบบใดบ้าง และมีหลักการอย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมจัดหมวดหมู่และให้เหตุผลร่วมกัน
- นักเรียนกำหนดหมวดหมู่ร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเปรียบเทียบอัตราส่วนของดินสอต่อปากกา เป็นเท่าใด / มีวิธีคิดอย่างไร?”
 



- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากโจทย์ที่ครูกำหนด พร้อมแลกเปลี่ยนกระบวนการคิด
- ตัวแทนนักเรียนออกมาสร้างโจทย์เพิ่มเติมจากที่ครูกำหนด
- ครูและนักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “ปากกา 1 แท่ง ต่อดินสอ 3 ด้าม ถ้าปากกา 2 แท่ง จะมีดินสอกี่ด้าม?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูแสดงการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนที่เท่ากัน เช่น  2:5 , 4:10 , 6:15 , 8:20 พร้อมร่วมกันวิเคราะห์ความสัมพันธ์
- นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างเปรียบเทียบอัตราส่วนที่เท่ากันแลกเปลี่ยนกับเพื่อนหน้าชั้นเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “ ถ้า a : b = 3 : 4 และ b : c = 6 : 7 จงหาอัตราส่วนของ  a : b : c มีค่าเท่ากับเท่าไหร่?”
- นักเรียนร่วมกันหาคำตอบ และนำวิธีการคิดมาแลกเปลี่ยนร่วมกันในชั้นเรียน

ภาระงาน
- จัดหมวดหมู่สิ่งของรอบตัว
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและแสดงวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- โจทย์ปัญหาอัตราส่วนอย่างง่าย
- โจทย์ปัญหาอัตราส่วนเชิงประยุกต์
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึก
ความรู้
เข้าใจและเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบสิ่งของ และหาความสัมพันธ์ทั้งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราส่วน รวมทั้งแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์ได้
ทักษะ
ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
สร้างโจทย์ปัญหาเชิงประยุกต์ได้
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราส่วนได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
แสดงวิธีคิด และอธิบายหน้าชั้นเรียนได้
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week




- ครูให้โจทย์เพิ่มเติม ถ้า a:b = 4:3 , b:c =2:3 , c:d= 3:1 จงหาอัตราส่วนของ a : b : c : d 
- นักเรียนร่วมกันหาคำตอบและนำเสนอกระบวนการคิดพร้อมให้เหตุผล
- ครูเส็งมีเงิน 700 บาท มีหลาน 4 คน แบ่งให้คนละ 1 : 2 : 3 : 4
อยากทราบว่าคนใดได้เงินมากที่สุดและได้กี่บาท
- นักเรียนแลกเปลี่ยนวิธีการคิดร่วมกัน
- ครูกำหนดโจทย์
“ นักเรียนห้องหนึ่งมีนักเรียน
70 คน มีนักเรียนชาย 3 ใน 5 จะมีนักเรียนหญิงกี่คน / มีวิธีกาคิดอย่างไร?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน


มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6

  
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
20 – 24 มิ.ย. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ4
(สัดส่วน) การแก้โจทย์ปัญหาสัดส่วนเชิงประยุกต์
Key  Question
ครูกำหนดให้ดินสอต่อปากกาเป็น
5:4 ถ้าดินสอมีมากกว่าปากกา 15 แท่ง จะมีปากกาทั้งหมดกี่แท่ง /นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Think Pair Share
ยกตัวอย่างอัตราส่วนที่เท่ากัน นำเสนอร่วมกัน
Show and Share 
นำเสนอโจทย์ปัญหาพร้อมวิธีคิด หน้าชั้นเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ดินสอ
ปากกา
สี
อุปกรณ์ใกล้ตัวนักเรียน
- นักเรียนร่วมกันทบทวนอัตราส่วน ความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นและลดลงในอัตราส่วนที่เท่ากันในสัปดาห์ที่แล้ว
- นักเรียนแสดงอันตราส่วนที่เท่ากันเพิ่มเติมจากโจทย์ที่กำหนด อย่างละ 5 อัตราส่วน
1)       2 : 5
2)       4 : 6
3)       5 : 7
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับอัตราส่วนที่เท่ากัน
- ทบทวน จากโจทย์ที่กำหนดในคาบที่แล้ว
- ครูกำหนด อัตราส่วนที่เท่ากัน ของสองอัตราส่วนมาเท่ากัน 
เช่น 
2 : 5 = 4 : 10
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “นักเรียนเห็นอะไรจากโจทย์ที่กำหนด”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากโจทย์ที่ครูกำหนด พร้อมกับวิธีการอ่านของจำนวนนั้นๆ
- ครูกำหนดโจทย์โดยให้ดินสอต่อปากกาเป็น
5:4 ถ้าดินสอมีมากกว่าปากกา 15 แท่ง จะมีปากกาทั้งหมดกี่แท่ง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร?”
- ครูกำหนดโจทย์ เช่น
อายุของพี่ปุ๋ยต่ออายุของพี่เมย์ เป็น
13:15
และอายุของพี่เมย์ต่ออายุของพี่แนนเป็น
14:12
จงหาอายุของพี่ปุ๋ยต่อพี่แนน
   มีวิธีการคิดอย่างไร
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์โจทย์นำเสนอกระบวนการคิดร่วมกัน
- ครูกำหนดโจทย์ดังนี้ 24 : x = 14 : 21 จงหาค่าตัวแปร x
- นักเรียนแสดงวิธีการคิดร่วมกัน
ภาระงาน
- ยกตัวอย่างอัตราส่วนที่เท่ากัน 5 อัตราส่วน
- แก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วน และโจทย์ประยุกต์
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและแสดงวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- สร้างโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง
- การ์ตูนช่อง สรุปความเข้าใจเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนและสัดส่วน
ชิ้นงาน
- โจทย์ปัญหาสัดส่วนเชิงประยุกต์
- การ์ตูนช่อง สรุปความเข้าใจ
ความรู้
เข้าใจและเกิดทักษะกระบวนการคิด
การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน รวมทั้งบอกความสัมพันธ์ของอัตราส่วนและสัดส่วนได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาสัดส่วนเชิงประยุกต์
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปของการ์ตูนช่อง
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถสร้างโจทย์ปัญหาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

Week





- ครูกำหนดโจทย์ปัญหาที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น คือ
12 : x = x : 3 จงหาค่าตัวแปร x
- ครูกำหนดโจทย์โดยมีข้อกำหนด คือ การผสมปูนใช้ปูนซีเมนต์และทรายผสมกันด้วยอัตราส่วน 2 : 3  ถ้าต้องการปูนฉาบ  25 ถัง จะต้องใช้ปูนซีเมนต์และทรายอย่างละเท่าไร
- นักเรียนกำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง นำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เรื่อง อัตราส่วนและสัดส่วน
- นักเรียนแสดงการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนและสัดส่วน ในรูปแบบ การ์ตูนช่อง


มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
7
27 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ5 (ร้อยละ)การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละเชิงประยุกต์
Key  Question
ข้อสอบคณิตศาสตร์โอลิมปิคมี 2 ฉบับ ฉบับแรกเทวินทำได้ 75% ของคะแนนเต็ม 80 คะแนน ฉบับที่สองเทวินทำได้ 70% ของคะแนนเต็ม 120 คะแนน
จงหาว่าเทวินทำข้อสอบวิชานี้ได้กี่เปอร์เซ็นต์
/นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร
?
เครื่องมือคิด
Show and Share
กำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
Infographic
สรุปความเข้าใจเปอร์เซ็นต์/ร้อยละ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
โจทย์ปัญหาเรื่องเปอร์เซ็นต์/
ร้อยละ
- ครูและนักเรียนทบทวนการเทียบบัญญัติไตรยางค์  โดยสิ่งต่างๆจะเทียบกับ 100  ยกตัวอย่างเช่น
- ครูแพนมีเงิน 100 บาท ซื้อเสื้อได้ 1 ตัว ถ้าครูแพนมีเงิน
200 บาทจะซื้อเสื้อได้กี่ตัว
- มีเงิน 100 บาท คิดเป็น 100 % ถ้ามีเงิน 50 บาทจะคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
- นักเรียนแสดงวิธีคิดจากคำถามกระตุ้นคิดของครู
- นักเรียนกำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตัวเอง แลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ลำโพงราคา 600 บาท ติดป้ายลด 20% ลำโพงจะมีราคากี่บาท ? “
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “ลด 20% มีความหมายว่าอย่างไร?”


-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากโจทย์ที่กำหนดให้พร้อมทั้งนำเสนอวิธีคิด
- นักเรียนร่วมกันแก้โจทย์ปัญหาเรื่องร้อยละ ที่ซับซ้อนขึ้น เช่น “ลำโพงลดราคา 120 บาท คิดเป็น 20% ของราคาต้นทุน อยากทราบว่า ราคาต้นทุนกี่บาท?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วม วิเคราะห์โจทย์และนำเสนอร่วมกัน
- ครูกำหนดโจทย์ เช่น ข้อสอบคณิตศาสตร์โอลิมปิคมี

2 ฉบับ ฉบับแรกเทวินทำได้ 75% ของคะแนนเต็ม 80 คะแนน ฉบับที่สองเทวินทำได้ 70% ของคะแนนเต็ม 120 คะแนน จงหาว่าเทวินทำข้อสอบวิชานี้ได้กี่เปอร์เซ็นต์
- นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายกระบวนการคิดร่วมกัน

ภาระงาน
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและแสดงวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- กำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน
- สรุปความเข้าใจ ในรูปแบบ infographic
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึก
- infographic
สรุปความเข้าใจ
ความรู้
เข้าใจและเกิดทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการเทียบบัญญัติไตรยางค์กับการหาร้อยละ
ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
สามารถกำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง พร้อมทั้งสรุปความคิดในรูปแบบ infographic
ทักษะการสื่อสาร
สามารถอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เพื่อนในชั้นเรียนเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
Week





- ครูและนักเรียนทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการหาเปอร์เซ็นต์ร้อยละร่วมกัน     
- นักเรียนกำหนดโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจการหาเปอร์เซ็นต์/ร้อยละ
 ในรูปแบบของ
infographic


มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
8
4 – 8 ก.ค. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ6
(รากที่สอง) การแก้โจทย์ปัญหาบวกลบ รากที่สอง
Key  Question
จงหาค่าของ
 
เครื่องมือคิด
Blackboard Share
นักเรียนแสดงกระบวนการคิด
หน้าชั้นเรียน
Show and Share
กำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ Square root และแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-กระดาษครึ่ง A4
-โจทย์ปัญหาการบวก ลบ
Square root

- ครูแจกกระดาษคนละหนึ่งแผ่น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาความสัมพันธ์ของตัวเลขกับช่องในกระดาษที่พับ
- พับกระดาษทีละครึ่งหลักจากพับสังเกตจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นจำนวนช่องที่เกิดขึ้นและจำนวนครั้งที่พับกระดาษ เชื่อมโยงไปยังเลขยกกำลังมีความสำคัญอย่างไรกับรากที่สอง
- ครูกำหนดตัวเลขดังนี้
 
 , , , ,  
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากตัวเลข นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น (Square root)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  มีค่าเท่ากับเท่าใด
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- ครูท้าทายความสามารถด้วยวิธีการ กำหนดตัวเลข  และให้นักเรียนหาค่าของรากที่สอง สาม สี่และห้า
- คำใช้คำถามกระตุ้นคิด “ถ้าต้องการบวก  Square root  นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไร?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแสดงวิธีการคิดหน้าชั้นเรียน และยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากที่ครูกำหนดมอบหมายโจทย์ 5 ข้อ เกี่ยวกับการบวกลบราก-
- ครูและนักเรียนทบทวนความเข้าใจจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
ด้วยวิธีการสุ่มถาม
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อจากประเด็นที่เพื่อนเสนอ
นำการบ้านมานำเสนอวิธีการคิดร่วมกัน

ภาระงาน
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและแสดงวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- แก้โจทย์ปัญหา Square root
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึก
ความรู้
มีความเข้าใจและเกิดกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของจำนวนใดๆเพื่อถอดรากออกมาในรูปของจำนวนเต็ม รวมทั้งสามารถดำเนินการบวก ลบ  Square root  ได้
ทักษะ
ทักษะการให้เหตุผล
การถอด Square root ด้วยหลายวิธีทั้งการแยกตัวประกอบ การหาร การยก-กำลัง ฯ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น








มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/3
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2
มาตรฐาน  1.3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
9-10
11 – 15 ก.ค. 2559
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ6
(รากที่สอง) การแก้โจทย์ปัญหาคูณ หาร รากที่สอง
Key  Question
x  = ??
เครื่องมือคิด
Show and Share
นักเรียนนำเสนอกระบวนการคิด
Infographic
สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ
Square root 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
โจทย์ปัญหาการ คูณ และหาร
Square root
- ครูและนักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับรากที่สองและสาม
- นักเรียนแสดงความเข้าใจของแต่ละคน
- ครูกำหนดโจทย์ท้าทายความความสามารถของพี่ๆทั้งโจทย์ที่เป็นรากที่สองและรากที่สาม
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ การบวก ลบรากที่สองและสาม
- ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อทบทวนความเข้าใจอีกครั้ง
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นอกจากวิธีการบวก ลบ แล้ว เราสามารถนำมาทำอย่างอื่นได้หรือไม่อย่างไร?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “นักเรียนคิดว่า การคูณ และหารจำนวนที่เป็น  Square root  สามารถทำได้อย่างไร?”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูยกตัวอย่าง เช่น จงหาค่าของ X  มีค่าเท่ากับเท่าไหร่?
- นักเรียนนำเสนอกระบวนการคิดร่วมกัน
- ครูกำหนดโจทย์  X มีค่าเท่ากับเท่าไหร่?
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- ครูและนักเรียนทบทวนการบวก ลบ และการ คูณ หาร  Square root  เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูกำหนดโจทย์ท้าทายมากขึ้น ทั้งการบวก ลบ คูณ หาร  Square root   เช่น จงหาค่าของ X   -  มีค่าเท่ากับเท่าไหร่?
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรากที่สอง
- นักเรียนยกตัวอย่างรากที่สองคนละหนึ่งคำถาม
ภาระงาน
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและแสดงวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนด
- แก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร รากที่สอง ลงในสมุด
-สรุปความเข้าใจลงในกระดาษ A4 ในรูปแบบ infographic
ชิ้นงาน
- infographic สรุปความเข้าใจ
ความรู้
มีความเข้าใจและเกิดกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของจำนวนใดๆเพื่อถอดรากออกมาในรูปของจำนวนเต็ม รวมทั้งสามารถดำเนินการคูณ หาร  Square root  ได้
ทักษะ
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถอธิบายการถอด Square root ด้วยหลายวิธีทั้งการแยกตัวประกอบ การหาร การยกกำลัง ฯ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


Week





- นักเรียนร่วมวิเคราะห์และแสดงวิธีคิดร่วมกันเกี่ยวกับรากที่สอง
- นักเรียนสรุปความเข้าใจลงในกระดาษ A4 ในรูปแบบ infographic
- ครูกำหนดโจทย์ให้นักเรียนเลือกทำ 7 ข้อ พร้อมแสดงวิธีคิดลงในสมุด
(
Flip your classroom)
- ครูและนักเรียนทบทวนการหาค่าของรากที่สอง สาม สี่ และห้า
และการดำเนินการบวก ลบ คูณ หาร ของ
 Square root  
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นอกจากการถอดรากด้วยวิธีกากรแยกตัวประกอบ นักเรียนสามารถถอดรากด้วยวิธีอื่นได้อย่างไร?”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนนำการบ้านเกี่ยวกับ Square root  มาเฉลยและวิเคราะห์ร่วมกัน
- นักเรียนออกแบบโจทย์และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ


มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ม.2/3
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2
มาตรฐาน  1.3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6


Week
Input
Process
Output
Outcome
11
25 – 29 ก.ค. 2559
โจทย์
สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
Key  Question
- ใน Quarter  นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด
Quarter
Mind Mapping
สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ก้านไม้ขีด
- กระดาษ  A4
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด 1 Quarterที่ผ่านมา
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ใน Quarter 1 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร?”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping  ต่อเนื่องจากชั่วโมงที่แล้ว
- ครูใช้เกมกระตุ้นคิด “นักเรียนจะทำอย่างไรโดยขยับก้านไม้ขีด 2 ก้านเพื่อให้สมการเป็นจริง?”
 



ขยับก้านไม้ขีด 1 ก้านเพื่อให้สมการเป็นจริง
- นักเรียนร่วมกันแสดงวิธีคิด
- นักเรียนกำหนดโจทย์เองเพื่อถามเพื่อนและครู
- นักเรียนแต่ละคนปรับแก้ชิ้นงานเพิ่มเติม
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ Mind Mapping ของตนเอง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบการนำเสนอเพื่อถ่ายทอดความเข้าใจ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter  และสรุปในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน
- Mind Mapping หลังเรียน
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายสิ่งที่เรียนรู้ในแต่ละเรื่องราวให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ตลอด Quarter 1 ได้
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลต่อสิ่งได้เรียนรู้ได้อย่างสมเหตุผล
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน


มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5, ม.2/6